หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง
Lymphatic Filariasis
Research Unit
หน่วยปฏิบัติการวิจัย
ทีมงาน
xxxxxThaiïEnglishxxxx
เวบไซต์ที่น่าสนใจ
Wolbachia genome project
Filaria dance sign
WHO
Pictures
Other
วารสารที่เกี่ยวข้อง
ASTMH
Filaria Journal
Parasite Immunology
Parasitology International
Parasitology Research
Parasitology
Trend in Parasitology
Parasitology linkหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง ศูนย์วิจัยคณะแพทยศาสตร์ ตึก อ.ป.ร. ชั้น 10 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2256-4000 ต่อ. 3567 Email: filariasiscu@md.chula.ac.th
ศ.ดร.พญ. สุรางค์ นุชประยูร (Professor Surang Nuchprayoon, M.D., MPH., Ph.D.) »»
หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2256-4000 ต่อ. 3681
Email: fmedstt@md.chula.ac.thการศึกษา »»
ปริญญา
สาขาวิชา
มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ที่ได้รับ
แพทยศาสตรบัณฑิต
(เกียรตินิยม)-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2530
Master of Public Health
- Johns Hopkins University, USA 2535 Doctor of Philosophy Molecular Parasitology and Immunology
Johns Hopkins University, USA
2538
อนุมัติบัตร พยาธิวิทยาคลินิก แพทยสภา/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย 2546 ประวัติการปฏิบัติงาน »»
2548-ปัจจุบัน หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2544-ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ 9 ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1998-2544 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2543-2547 หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัล »»
1994-1995 Anna-Lisa Gotschlich Foundation Scholarship
1989-1994 Chulalongkorn University Scholarship for Ph.D.
1993 American Society of Tropical Medicine and Hygiene Graduate Students Travel
grant Awards1987 Doctor of Medicine with Honors
งานวิจัยที่สนใจ »»
ความสำเร็จของโครงการกำจัดโรคเท้าช้างจะเกิดได้นั้น นอกจากการรักษาที่ครอบคลุมประชากรในแหล่งโรคชุกชุมแล้ว จำเป็นต้องมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพเพื่อสามารถประเมินสถานการณ์โรคเท้าช้างและผลการรักษาได้ตามจริง โดยมีการวิจัยเชิงบูรณาการที่เป็นระบบรองรับ นอกจากนี้จำเป็นต้องมีงานวิจัยเชิงลึกเพื่อค้นคว้าหาตัวยาใหม่ที่ทดแทนหรือเสริมยาเดิมที่มีประสิทธิภาพจำกัดในการกำจัดพยาธิตัวแก่ ซึ่งทำให้ต้องรักษาซ้ำ และยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยได้
หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างมุ่งมั่นในการสร้างงานวิจัยเพื่อการกำจัดโรคเท้าช้างอย่างยั่งยืน โดยทำการศึกษาวิจัยโรคเท้าช้างแบบบูรณาการอย่างครบวงจร โดยมีการศึกษาขั้นพื้นฐานและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเชิงลึก ทั้งด้านอณูชีววิทยาและอิมมูนวิทยาเพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้กับงานสาธารณสุขระดับชุมชนในการประเมินสถานการณ์โรคเท้าช้างให้ได้ตามจริง ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องสำหรับการวางแผนในการกำจัดโรคเท้าช้างในประเทศไทย ซึ่งในเบื้องต้นโดยความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข ผลการสำรวจโรคเท้าช้างในคนไทย แรงงานต่างด้าว ตลอดจนยุงพาหะและสัตว์รังโรค ทำให้ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยาที่บ่งถึงความชุกของโรคสูงทั้งในคนไทยที่อาศัยในแหล่งโรคชุกชุม และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวางแผนควบคุมและกำจัดโรค นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาการตรวจพยาธิโรคเท้าช้างในยุงโดยวิธีทางอณูชีววิทยา Polymerase chain reaction (PCR) ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทางหน่วยมีตัวอย่างหนอนพยาธิในกลุ่มฟิลาเรียสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้อ้างอิง และเป็นกลุ่มวิจัยแรกที่ใช้วิธีทางอณูชีววิทยาจำแนกชนิดของพยาธิกลุ่มนี้ได้เกือบทุกชนิดจากการทดลองในครั้งเดียวโดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสร่วมกับการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (Polymerase chain reaction linked restriction fragment length polymorphism; PCR-RFLP) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาโมเลกุลที่สามารถใช้เป็นเป้าหมายใหม่ในการรักษาและป้องกันการเกิดพยาธิสภาพ โดยมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง ได้การสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลิตองค์ความรู้ใหม่และสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่มีศักยภาพทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ผลงานวิชาการ »»