.ดร.พญ. สุรางค์ นุชประยูร (Professor Surang Nuchprayoon, M.D., MPH., Ph.D.) »»
 

หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง

ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2256-4000 ต่อ. 3681
Email: fmedstt@md.chula.ac.th

การศึกษา »»

ปริญญา สาขาวิชา มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ที่ได้รับ

แพทยศาสตรบัณฑิต
(เกียรตินิยม)

-

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2530

Master of Public Health

- Johns Hopkins University, USA 2535
Doctor of Philosophy

Molecular Parasitology and Immunology

Johns Hopkins University, USA

2538

อนุมัติบัตร พยาธิวิทยาคลินิก แพทยสภา/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย 2546

ประวัติการปฏิบัติงาน »»

รางวัล »»

งานวิจัยที่สนใจ »»

           ความสำเร็จของโครงการกำจัดโรคเท้าช้างจะเกิดได้นั้น นอกจากการรักษาที่ครอบคลุมประชากรในแหล่งโรคชุกชุมแล้ว จำเป็นต้องมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพเพื่อสามารถประเมินสถานการณ์โรคเท้าช้างและผลการรักษาได้ตามจริง  โดยมีการวิจัยเชิงบูรณาการที่เป็นระบบรองรับ นอกจากนี้จำเป็นต้องมีงานวิจัยเชิงลึกเพื่อค้นคว้าหาตัวยาใหม่ที่ทดแทนหรือเสริมยาเดิมที่มีประสิทธิภาพจำกัดในการกำจัดพยาธิตัวแก่ ซึ่งทำให้ต้องรักษาซ้ำ และยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยได้

          หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างมุ่งมั่นในการสร้างงานวิจัยเพื่อการกำจัดโรคเท้าช้างอย่างยั่งยืน โดยทำการศึกษาวิจัยโรคเท้าช้างแบบบูรณาการอย่างครบวงจร โดยมีการศึกษาขั้นพื้นฐานและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเชิงลึก ทั้งด้านอณูชีววิทยาและอิมมูนวิทยาเพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้กับงานสาธารณสุขระดับชุมชนในการประเมินสถานการณ์โรคเท้าช้างให้ได้ตามจริง ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องสำหรับการวางแผนในการกำจัดโรคเท้าช้างในประเทศไทย ซึ่งในเบื้องต้นโดยความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข ผลการสำรวจโรคเท้าช้างในคนไทย แรงงานต่างด้าว ตลอดจนยุงพาหะและสัตว์รังโรค ทำให้ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยาที่บ่งถึงความชุกของโรคสูงทั้งในคนไทยที่อาศัยในแหล่งโรคชุกชุม และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวางแผนควบคุมและกำจัดโรค นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาการตรวจพยาธิโรคเท้าช้างในยุงโดยวิธีทางอณูชีววิทยา Polymerase chain reaction (PCR) ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทางหน่วยมีตัวอย่างหนอนพยาธิในกลุ่มฟิลาเรียสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้อ้างอิง และเป็นกลุ่มวิจัยแรกที่ใช้วิธีทางอณูชีววิทยาจำแนกชนิดของพยาธิกลุ่มนี้ได้เกือบทุกชนิดจากการทดลองในครั้งเดียวโดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสร่วมกับการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (Polymerase chain reaction linked restriction fragment length polymorphism; PCR-RFLP) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาโมเลกุลที่สามารถใช้เป็นเป้าหมายใหม่ในการรักษาและป้องกันการเกิดพยาธิสภาพ โดยมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้ “หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้าง” ได้การสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลิตองค์ความรู้ใหม่และสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่มีศักยภาพทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ผลงานวิชาการ »»

คลิกที่นี่